เมนู

ก็แหละ ในเทวโลก เทวดาโฆษณาการฟังธรรมใหญ่เดือนละ 8 วัน
ในวันทั้ง 8 นั้น สนังกุมารมหาพรหม ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ภิกษุธรรมกถึก
หรือไม่อย่างนั้นก็เทพบุตรธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่ง กล่าวธรรมกถาในสุธรรมา
เทวสภา. ในวัน 8 ค่ำ ของปักษ์ พวกอำมาตย์ของมหาราชทั้ง 4 องค์ ใน
วัน 14 ค่ำ โอรสทั้งหลาย ในวัน 15 ค่ำ มหาราชทั้ง 4 องค์ เสด็จ
ออกไป ทรงถือแผ่นกระดาษทองและชาติหิงคุลก์ ท่องเที่ยวไปตามคามนิคม
และราชธานีทั้งหลาย. พระองค์ทรงบันทึกไว้ด้วยชาติหิงคุลก์บนแผ่นทองว่า
หญิงหรือชายชื่อโน้นนั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงธรรมเป็นสรณะ ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ. รักษาศีล 5กระทำอุโบสถ 8 ทุกเดือน บำเพ็ญการบำรุง
มารดา การบำรุงบิดา กระทำการบูชาด้วยดอกอุบล 100 กำ บูชาด้วย แจกัน
ดอกไม้ในที่โน้น ตามประทีป 1,000 ดวง ทำการฟังธรรมไม่เป็นเวลา
สร้างฉัตรเวที มุทธิเวที กุจฉิเวที บัลลังก์สิงห์ บันไดสิงห์ บำเพ็ญสุจริต 3
ประการ ประพฤติยึดมั่นกุศลกรรมบถ 10 ประการ แล้วนำมามอบให้ที่มือ
ของปัญจสิขะ. ปัญจสิขะก็ให้ที่มือของมาตลี. สารถีมาตลีก็ถวายแด่ท้าวสักก
เทวราช เมื่อคนทำบุญมีไม่มาก สมุดบัญชีก็น้อย. พอพวกเทวดาได้เห็น
บัญชีนั้น เท่านั้น ก็เสียใจว่า เพื่อนเอ๋ย มหาชนประมาทจริงหนอ อบาย 4
จักเต็ม เทวโลก 6 จักว่างเปล่า. แต่ถ้าบัญชีหนา เมื่อพวกเทวดาได้เห็นมัน
เท่านั้น ก็พากันดีใจว่า โอ เพื่อเอ๋ย มหาชนมิได้ประมาท อบาย 4
จักว่าง เทวโลก 6 จักเต็ม พวกเราจักได้ห้อมล้อมผู้มีบุญใหญ่ที่ได้ทำบุญ
ไว้ในพระพุทธศาสนาแล้วมาเล่นนักษัตรด้วยกัน. ท้าวสักกเทวราชทรงถือบัญชี
นั้นแล้วก็ทรงสั่งสอน. โดยแบบปกติ เมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นกำลังตรัส
พระสุรเสียงได้ยินไป 12 โยชน์. เมื่อตรัสด้วยพระสุรเสียงดังพระสุรเสียงก็กลบ
เทวนครหมดทั้งหมื่นโยชน์ตั้งอยู่. อย่างที่กล่าวมานี้ เทวดาทั้งหลายย่อมประชุม

กันเพื่อประโยชน์ฟังธรรม. ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พวกเทวดาประชุมกัน
เพื่อประโยชน์ปวารณาสงเคราะห์.
คำว่า นมัสการพระตถาคตอยู่ หมายความว่า นมัสการอยู่ซึ่ง
พระตถาคตด้วยเหตุ 9 อย่าง. ใจความของบาทคาถาว่า และความที่พระ-
ธรรมเป็นธรรมดี
เป็นต้น คือความที่พระธรรม ซึ่งต่างด้วยธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น เป็นธรรมที่ดี และการปฏิบัติดีที่ต่างด้วยความ
เป็นผู้ปฏิบัติตรงเป็นต้น ของพระสงฆ์.
คำว่า ตามความเป็นจริง คือตามที่เป็นจริง ตามภาวะของตน.
วัณณะ หมายเอาพระคุณ. คำว่า ได้กล่าวขึ้นแล้ว หมายความว่า พูดแล้ว.
คำว่า ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก คือ ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
แม้เมื่อทรงรวบรวมธรรม 8 ประการ แทบพระบาทของพระทีปังกร
แล้วบำเพ็ญพระอภินิหาร ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อ
ทรงบำเพ็ญพระบารมี 10 ทัศเหล่านี้ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี
ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี
อุเบกขาบารมี เป็นเวลา 4 อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
แก่ชนมาก. ในคราวเป็นดาบสผู้ถือมั่นขันติ (ขันติวาที) ในคราวเป็นจูฬธัมม-
บาลกุมาร ในคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ ในคราวเป็นพญานาคภูริทัตต์
จัมไปยยะและสังขบาล และในคราวเป็นมหากปิ แม้ทรงกระทำงานที่ทำได้ยาก
เช่นนั้น ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงดำรงอัตภาพเป็น
พระเวสสันดรทรงให้ทานใหญ่ชนิดละร้อยรวม 7 ชนิด ทำให้แผ่นดินไหวใน
7 สถานแล้วทรงยึดเอายอดพระบารมี ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชน
มาก แม้ในอัตภาพถัดจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรนั้น เสด็จดำรงอยู่ในดุสิต